ใช้ยาสีฟันทาได้ไหม

แผลไฟไหม้-น้ำร้อนลวก ใช้ยาสีฟันทาได้ไหม

ใครที่เคยเอายาสีฟันทาลงบนแผลแสบร้อนจากไฟไหม้ น้ำร้อนลวก เพราะคิดว่าจะช่วยรักษาแผลให้หายได้ดีขึ้น ขอให้เปลี่ยนความคิดใหม่ เพราะเสี่ยงแผลติดเชื้อ และล้างออกได้ยาก วิธีที่ดีที่สุดในการปฐมพยาบาลแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก คือการล้างแผลด้วยน้ำสะอาด หรือน้ำเกลือล้างแผล

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ( อย.) ระบุ แผลไฟไหม้/น้ำร้อนลวก มีความรุนแรงหลายระดับ ตั้งแต่เป็นเพียงรอยแดง ผิวหนังพุพอง หลุดลอก บางกรณีรุนแรงถึงขั้นเป็นแผลลึกลงไปในชั้นกล้ามเนื้อ ทำให้การรักษาบาดแผลมีวิธีรักษาที่แตกต่างกัน

คำถามที่ว่า แผลไฟไหม้/น้ำร้อนลวกให้ใช้ยาสีฟันทา จริงหรือ?

คำตอบคือ ไม่จริง เนื่องจากการใช้ยาสีฟันทาบริเวณแผลทำให้แผลมีโอกาสติดเชื้อมากขึ้น

นอกจากนี้แล้วแผลไฟไหม้/น้ำร้อนลวก มักทำให้เกิดอาการแสบร้อน หลายคนปฐมพยาบาลแบบผิดๆ เพื่อความปลอดภัยสามารถปฐมพยาบาลด้วยต้นเอง และมีข้อห้ามปฏิบัติดังนี้

• ล้างแผลด้วยสบู่อ่อน และน้ำสะอาดอุณภูมิห้อง

• ปิดแผลด้วยผ้าสะอาด

• ห้ามประคบแผลด้วยน้ำแข็ง หรือน้ำเย็นจัด

• ห้ามทายาสีฟัน หรือครีมใด ๆ บนแผล

ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น เนื่องจากแผลมีหลายระดับความรุนแรง การรักษาอย่างถูกวิธีมีความสำคัญมาก หากปฐมพยาบาลแล้วควรรีบไปพบแพทย์ทันที

วิธีปฐมพยาบาล เมื่อมีแผลจากไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

1. ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด หรือน้ำเกลือล้างแผล
2. ห้ามถู หรือแกะแผล เพราะจะทำให้ผิวหนังถูกทำลาย และอาจติดเชื้อที่แผลได้
3. แผลที่ตื้นมาก และมีขนาดเล็ก อาจใช้ยารักษาบาดแผลไฟไหม้ที่ได้มาตรฐานทาได้
4. หากปวดแผลมาก สามารถกินยาพาราเซตามอล เพื่อลดอาการปวดลงได้

5. หากมีแผลพุพอง หลีกเลี่ยงการเจาะแผลเพื่อเอาน้ำในแผลออก เพราะอาจเสี่ยงติดเชื้อได้
6. แผลที่มีขนาดใหญ่ หลังจากล้างด้วยน้ำสะอาด หรือน้ำเกลือล้างแผลแล้ว ควรเช็ดให้แห้ง คลุมบาดแผลด้วยผ้าสะอาดที่แห้ง แล้วรีบพบแพทย์
7. หากโดนอวัยวะสำคัญ เช่น ใบหน้า ดวงตา หู หรือข้อพับต่าง ๆ ควรพบแพทย์ทันที
8. สามารถใช้ว่านหางจระเข้ได้ เพราะช่วยรักษาสภาพแผลให้ชุ่มชื้น ลดอาการปวดแสบของแผลได้ แต่ต้องระมัดระวังในการนำมาใช้ เพราะอาจทำให้แผลติดเชื้อได้เช่นกัน และต้องใช้หลังการล้างแผลให้สะอาดแล้วเท่านั้น

  ถมนคร เครื่องถมเมืองนคร<