หากคุณมีอาการเหล่านี้ เหนื่อยง่ายเวลาออกแรง อ่อนเพลีย หน้ามืด เวียนศีรษะ ใจสั่น เป็นไปได้ว่าคุณอาจกำลังมีภาวะโลหิตจางก็เป็นได้
โลหิตจาง หมายถึง การที่ปริมาณเม็ดเลือดแดงในเลือดน้อยกว่าปกติ ทำให้การนำออกซิเจนไปสู่อวัยวะต่างๆ ของร่างกายจะด้อยประสิทธิภาพลง เพราะเม็ดเลือดแดงมีหน้าที่นำออกซิเจนไปยังอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย โดยปกติสารฮีโมโกบิล ซึ่งอยู่ในเม็ดเลือดแดง ซึ่งมีหน้าที่โดยตรงในการนำออกซิเจนไปยังอวัยวะต่างๆ สามารถจับออกซิเจน เพิ่มได้มากหลายเท่าตัว
ดังนั้นถ้าโลหิตจางน้อยๆ ก็จะไม่มีผลต่อสุขภาพ แต่ถ้าบังเอิญเกิดเหตุที่ทำให้เสียเลือดกระทันหัน เช่น อุบัติเหตุรถชน หรือมีการตกเลือดจากเหตุทางโรคภัย เช่น แท้งลูก ท้องนอกมดลูกจะทนทานการเสียเลือดได้ไม่ดี แต่ถ้าโลหิตจางมากย่อมมีผลต่อร่างกาย จะทำให้อ่อนเพลียง่าย เหนื่อยง่าย อาจรู้สึกหนาวง่าย มึนงง เวียนศีรษะง่าย เป็นลมหน้ามืดได้ง่าย ความจำไม่ดี
มีสาเหตุได้หลายอย่าง ที่พบได้บ่อยๆ มาจากการขาดสารอาหาร เช่น ขาดธาตุเหล็กหรือโลหิตจางที่ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุ์กรรม เช่น โรค Thalassemia ชนิดต่างๆ หรืออาจเกิดจาการที่มีการสูญเสียเลือดเรื้อรัง เช่น ในสตรีจะมีการสูญเสียเลือดจาการมีประจำเดือน หรืออาจมีโรคที่มีการสูญเสียเลือดออกทางเดินอาหาร เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือริดสีดวงทวาร ที่มีการเสียเลือดออกทางทวารหนัก การที่มีพยาธิในลำไส้ก็อาจทำให้เกิดโลกหิตจางได้
อาการ : อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าน ใจสั่น มึนงง หน้ามืด วิงเวียน และมีอาการเบื่ออาหารร่วมด้วย มีอาการซีด บริเวณหน้า เยื่อบุเปลือกตา ริมฝีปาก ลิ้น ฝ่ามือและเล็บ ถ้ามีอาการเรื้อรัง อาจมีอาการมุมปากเปื่อย เล็กมีลักษณะอ่อนแอและแบน หรือ เล็บเงยขึ้นมีแอ่งตรงกลางคล้ายช้อน
อันตรายที่เกิดจากโลหิตจาง : โลหิตจางเล็กน้อยอาจไม่มีอันตรายใดๆ แต่ถ้ามีโลหิตจางมาก ทำให้อ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ ใจสั่น หน้ามืด เป็นลมง่าย อาจมีอาการของโรคหัวใจล้มเหลวได้ เพราะถ้ามีโลหิตจางมากๆ หัวใจต้องทำงานมากขึ้น เพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี่ยงร่างกายให้มากขึ้น อาจมีหัวใจโต เกิดภาวะหัวใจวายได้
การป้องกันภาพวะโลหิตจาง : ละเว้นการทานอาหารที่ขัดขวางการดูดซึมของธาตุเหล็ก เช่น ชา กาแฟ โอเลี้ยง รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงมากๆ เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู ตับสัตว์ ไข่แดง เลือกสัตว์ ผักใบเขียว เช่น กระเพรา ชะพลู แมงลัก ผักบุ้งจีน ชะอม ผักกระเฉด กวางตุ้ง ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา รับประทานอาหารที่มีวิตามินสูง เพื่อส่งเสริมการดูดซึมธาตุเหล็ก เช่น มะละกอสุก กล้วยน้ำว้า ส้ม ฝรั่ง หมั่นสังเกตุว่ามีเลือดออกเรื้อรังจากที่ใดหรือไม่ เช่น ทางเดินอาหาร (ริดสีดวงทวาร หรือมีถ่ายอุจจาระดำปี๋หรือไม่ มีอาการโรคกระเพาะหรือไม่ เลือดออกตามไรฟันหรือไม่)
การรักษาภาวะโลหิตจาง : ระดับรักษาสาเหตุของการเสียเลือดเรื้อรัง(ถ้ามี) เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหาร ริดสีดวงทวาร ถ้ามีเลือดประจำเดือนมาก อาจปรึกษากับนรีแพทย์เพื่อทำการรักษา ถ้ามีพยาธิในลำไส้ก็ทำการถ่ายพยาธิ ถ้าโลหิตจางเกิดจากการขาดสารอาหาร แพทย์ก็จะให้ยาที่เสริมสารอาหาร หรือ ธาตุเหล็ก แต่ถ้าเป็นโลหิตจางจากการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ เช่น
โรค Thalassemia ซึ่งอาจต้องตรวจเลือดเพิ่มเติม เพื่อให้ทราบสาเหตุแน่นอนและได้รับการรักษาจำเพาะ และในกรณีนี้หากจะแต่งงานควรพบแพทย์พร้อมกับคู่สมรส และควรตรวจเลือดคู่สมรสด้วย เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดโลหิตจาง Thalassemia ที่รุนแรงในเด็กที่จะเกิดมาด้วย
ทั้งนี้หากมีภาวะโลหิตจางควรได้รับการตรวจวินิจฉัยโรคก่อน เพื่อให้ได้รับการรักษาที่เหมาะสม
ข้อมูล : โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ (Saint Louis Hospital)